บริการจดทะเบียนอาหาร/เสริมอาหาร

ขั้นตอนการขออนุญาติผลิตภัณฑ์อาหาร แบบง่ายๆ 

ผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ฟรี! ปรึกษาสูตรส่วนประกอบ / ชนิดอาหาร

ติดต่อ ขอรายละเอียดได้ที่  Tel.0970094800 (คุณอาร์ม) 

หรือ Email : j8850s@hotmail.com, suchada_604@hotmail.com

LINE OFFICIAL QR CODE: 

 

 

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 

1. เช็คสูตรส่วนประกอบ (ฟรี) 

2. ขึ้นทะเบียนสถานที่นำเข้าหรือผลิต จนได้ใบอนุญาติ 

3. เตรียมเอกสาร(รายละเอียดขอได้ที่ 0970094800)

4. ยื่นจดทะเบียนผลิตภัณฑ์

5. ชำระค่าธรรมเนียมต่อผลิตภัณฑ์ 2000 บาท

อาหาร ( food ) คือ  สิ่งที่บริโภคเข้าไปแล้วให้ประโยชน์แก่ร่างกาย   เช่น  ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยไม่มี    พิษภัยหรือให้โทษแก่ร่างกาย
 
เสริมอาหาร(Supplement) หมายถึง เพิ่มให้แก่อาหาร. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปรกติ ซึ่งมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ เช่น วิตามิน กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุ รวมทั้งสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบ. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่อาหารโดยตรง แต่ใช้บริโภคเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหรือเสริมความงามเป็นต้น
 

เกี่ยวกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 448) พ.ศ. 2567 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 5)

    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้องมีชนิดและปริมาณสูงสุดของวิตามินหรือแร่ธาตุตามที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ  ทั้งนี้ ปริมาณต่ำสุดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของค่าอ้างอิงสารอาหารต่อวันสำหรับคนไทย  (THAI  REFERENCE  DAILY  INTAKES - THAI  RDIs) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยฉลากโภชนาการ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้วิตามินหรือแร่ธาตุ
    2. มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
    3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่ได้รับอนุญาตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ. 2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ให้ยังคงจำหน่ายต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม 2570

กรณียื่นคำขออนุญาตแก้ไขผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับเลขสารบบก่อนวันที่ 2 ก.ค. 67 

    1. หากไม่ได้ขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ แต่ขอแก้ไขอย่างอื่น (เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ อายุการเก็บรักษา ที่อยู่สถานที่ผลิต/นำเข้า เป็นต้น) สามารถใช้สูตรเก่าต่อไปได้ จนถึงวันที่  1 กรกฎาคม 2570
    2. หากยื่นขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ ขอให้ปรับปริมาณวิตามินและแร่ธาตุในสูตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 448) พ.ศ. 2567 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 5)
    3. การยื่นขอแก้ไขสูตรส่วนประกอบ ผู้ประกอบการสามารถปรับเพิ่ม/ลด ชนิด/ปริมาณ ของส่วนประกอบใดก็ได้แต่ต้องให้สอดคล้องหรืออยู่ในช่วงตามที่ อย. กำหนด ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบในการสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงสูตรส่วนประกอบโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบสำคัญ (active ingredients) ของผลิตภัณฑ์ และต้องแสดงส่วนประกอบบนฉลากให้ตรงตามที่ได้แจ้งแก้ไขใหม่
    4. กรณีมีการยื่นแก้ไขรายละเอียดอื่นของอาหาร แต่ไม่ได้มีการแก้ไขสูตรส่วนประกอบ และผู้ประกอบการยังไม่มีความพร้อมในการจัดทำฉลากโภชนาการตามประกาศฯ ฉบับที่ 445 ยังคงสามารถแสดงฉลากโภชนาการตามประกาศฯ ฉบับที่ 182 หลังจากวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องบริหารจัดการฉลากที่มีอยู่หรือฉลากที่กำลังจัดทำใหม่ให้มีระยะเวลาการวางจะหน่ายในท้องตลาดให้เป็นไปตามที่ประกาศฯ กำหนด
Visitors: 49,180